How to “Portfolio” ทำยังไงให้ปัง พร้อมสอบสัมภาษณ์ เข้ามหาวิทยาลัย
How to “Portfolio” ทำยังไงให้ปัง พร้อมสอบสัมภาษณ์ เข้ามหาวิทยาลัย
หลาย ๆ คนน่าจะรู้จักสิ่งนี้ดี นั่นก็คือ “Portfolio” ซึ่งเป็นสิ่งทีี่เราคุ้นชินมาตั้งแต่เด็ก ในการเรียนระดับชั้นอนุบาล จนถึงประถม น้อง ๆ หลายคนน่าจะเคยได้มีการเก็บชิ้นงานที่ทำไว้ที่แฟ้มสะสมผลงาน หรือ Portfolio แน่นอนว่า การสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย หรือแม้แต่การสมัครงานในบางแห่ง ก็อาจมีการขอดู Portfolio ของเราเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย Portfolio เป็นส่วนสำคัญการอีกอย่างในการสัมภาษณ์ เพราะใน Portfolio จะเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงตัวตนของเราและยังแสดงถึงความสามารถที่เรามี เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์ได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเราเพิ่มเติม กาารทำ Portfolio มีหลากหลายรูปแบบ ในบางคนอาจททำเป็นเล่มคล้ายหนังสือ และบางคนจัดทำคล้ายแฟ้มสะสมผลงาน ซึ่งการออกแบบแต่ละแบบไม่มีกฎตายตัวที่บอกว่าผิดหรือถูก เราเองสามารถดีไซน์ออกมาให้เป็นตัวตนของเราได้
Portfolio ควรมีอะไรบ้าง ?
1.ปกของ Portfolio
- รูปของน้อง ๆ
ควรใช้รูปที่ใส่ชุดสุภาพ หรือชุดนักเรียนเพื่อเป็นการแสดงถึงความเป็นเจ้าของของชิ้นงาน
- ชื่อของเจ้าของผลงาน
ควรใส่ชื่อเจ้าของผลงานที่เห็นได้ชัด สามารถใส่ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่หากใส่ภาษาอังกฤษ น้อง ๆ จะส่ามารถใช้ได้หลากหลายขึ้น เช่นการยื่นในคณะเกี่ยยวกับภาษาต่างประเทศ การใช้ในคณะนานาชาติ เป็นต้น
- การเลือกชุดสีของ Portfolio
หากมีคณะหรือมหาลัยที่ตั้งใจไว้ สามารถเลือกชุดสีของคณะหรือมหาวิทยาลัยนั้น หรือน้อง ๆ ที่จะเข้าคณะที่ต้องมีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือด้านสิลปะ สามารถครีเอตออกมาเพื่อให้เป็นตัวเองได้เช่นกัน และสำหรับใครที่ยังไม่ได้มีที่คิดไว้ อาจใช้สีกลาง ๆ พื้นฐาน เช่น ขาว ดำ เทา สีเบจ หรือการใช้เอิร์ธโทนก็ดูดีไม่น้อย
2.คำนำ
- การเขียนคำนำเพื่อบอกจุดประสงค์หลักในการทำผลงาน โดยการทำผลงานชิ้นนี้ทำเพื่ออะไรและจะให้ผลประโยชน์อย่างไรแก่ผู้อ่าน และผู้จัดทำ ซึ่งในการเขียนคำนำ น้อง ๆ สมารถกล่าวถึงบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการจัดทำได้ เช่น คุณครูที่ปรึกษา ผู้ปกครอง หรือเพื่อนร่วมกิจกรรม
3.สารบัญ
- ควรเขียนชื่อเรื่อง เนื้อหา และหัวข้อต่าง ๆ ที่เราแนบมาในผลงานให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านหรือกรรมการ ง่่ายต่อการสืบค้นในส่วนที่สนใจ
4.ประวัติส่วนตัวและประวัติการศึกษา
- เขียนประวัติตัวเองพอสังเขป ในส่วนของประวัติการศึกษา อาจใส่เพียงชั้นมัธยมศึกษา หรือหากเคยศึกษาที่โรงเรียนเฉพาะทางน้อง ๆ ก็สามารถใส่เพิ่มเข้าไปได้อีกด้วย และมีข้อมูลการติดต่อให้ชัดเจน เช่นที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล อาจมีรูปภาพตนเอง หรือรูปนักเรียนหน้าตรงเข้าไปด้วยก็ได้
5.กิจกรรมที่เข้าร่วม
- กิจกรรมมที่เข้าร่วมควรจัดประเภทของแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน เช่น กิจกรรมด้านวิชาการ กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการกีฬา กิจกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นต้น ในส่วนนี้จะเป็นการใส่รูปภาพกิจกรรม และอธิบายลักษณะและะจุดประสงค์ของกิจกรรมที่เข้าร่วม เพื่อให้กรรมการทราบและเห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมที่เราสนใจ
6.ใบประกาศ
- ในส่วนนี้เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนที่ทำกิจกรรรมต่าง ๆ มักจะมีสิ่งนี้อยู่ไม่น้อย ใบประกาศ หรือเกียรติบัตรที่ยืนยันการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของเรา หรือในน้อง ๆ บางกลุ่มอาจเป็นใบประกาศรางวัลที่ตนได้รับ จะช่วยยืนยันความสามารถของเราอีกด้วย
Match House หวังว่าเทคนิคที่กล่าวมานี้จะเป็นประโยชน์ให้กับน้อง ๆ #dek66 หรือ น้องๆ ที่กำลังหาไอเดียสำหรับทำ Portfolio ในการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัยกันนะคะ
นอกจากการสัมภาษณ์แล้ว เกรดกับคะแนนสอบ นั้นก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับโปรไฟล์ของน้อง ๆ เช่นกัน หากน้อง ๆ ที่อยากเพิ่มคะแนนสอบให้ปังกว่าเดิม สามาติดต่อ Match House ของเราได้ทุกสาขาเลยค่า
สนใจทดลองเรียนฟรี หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือเข้ามาพูดคุย ปรึกษาคอร์สเรียน ที่สาขาของ Match House Learning Center
สำนักงานใหญ่ (บางแค)
02-413-2556-7
ID Line : https://page.line.me/matchhouse
สาขาพระราม 2
02-872-4440
089-764-6243
ID Line : https://page.line.me/bav7993b
สาขาซีคอนศรีนครินทร์
02-721-9703
089-764-6243
ID Line : https://page.line.me/dzo9818y
สาขาซีคอนบางแค
02-458-2645
097-1652992
ID Line : https://page.line.me/matchhouse.scbk